วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้หน่วยต่างๆที่จับฉลากออกมาสอนตามวันที่ได้

วันจันทร์ หน่วยไก่


วันอังคาร หน่วยนม




วันพุธ หน่วยข้าว,หน่วยส้ม
หน่วยข้าว




หน่วยส้ม



วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย


วันศุกร์ หน่วยน้ำ


คำศัพท์  -

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำการสอนของกลุ่มตนเองและกลุ่มของเพื่อนๆไปปรับใช้ในอนาคต

การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังอาจารย์และทำกิจกรรมที่เพื่อนนำมาอย่างตั้งใจ
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมที่เพื่อนนำมา
อาจารย์/สอดแทรกความรูู้ให้กับนักศึกษาและมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนการสอนตามวัน







หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มมาจับฉลากว่ากลุ่มไหนจะได้สอนวันอะไร

วันจันทร์  กลุ่มไก่
วันอังคาร กลุ่มนม
วันพุธ กลุ่มข้าวกับกลุ่มส้ม
วันพฤหัสบดี กลุ่มกล้วย
วันศุกร์ กลุ่มน้ำ

คำศัพท์  - 

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถสร้างกิจกรรมที่สอดคล้องกับหน่วยได้อย่างถูกต้อง

การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังอาจารย์และทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำงานอย่างเต็มที่
อาจารย์/ให้ความรู้แก่นักศึกษาและวิธีการเขียนแผนอย่างถูกวิธี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเซคผมต้องต้องทำกิจกรรมต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมชมงานคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 1 พฤษจิกายน

อาจารย์ให้เปิดวีดีโอการสอนทำของเล่นที่บูรณาการทางวิทยาศาสตร์


กลุ่มที่ 1 พลังปริศนา



กลุ่มที่ 2 ขวดบ้าพลัง




กลุ่มที่ 3 รถแกนหลอดด้าย




กลุ่มที่ 4 ลูกข่างนักสืบ



หลังจากดูวีดีโอเสร็จ อาจารย์ก็ให้แยกกลุ่มตามหน่วยการเรียนรู้ที่เลือกไว้ ให้แต่ละกลุ่มเขียนมายแมปว่าจพทำอะไรในแต่ละวันในเรื่องของหน่วยตัวเอง

คำศัพท์  -

การนำมาประยุกต์ใช้
นำหน่วยของตัวเองและของกลุ่มเพื่อน ๆ มาประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต

การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังอาจารย์และดูวีดีโอนำเสนอของเพื่อนเพื่อนำมาปรับใช้
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์/สอดแทรกความรูู้ให้กับนักศึกษาและมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ

1.เอลนิลโญ่ลานิญญ่าคืออะไร

    "เอลนินโญ่" และ "ลานินญ่า" มาจากภาษาสเปน เอลนินโญ่ แปลว่า เด็กผู้ชาย มีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า บุตรของพระคริสต์ และ   ลานินญ่า แปลว่า เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "El Nino" และ "La Nina"
    เอลนิลโญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำทะเลที่อุ่นบริเวณเส้นศูนย์สูตรททงมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ไหลเไปแทนกระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมบริเวณเส้นศูนย์สูตรมางมหาสมุมรแปซฟิกตะวันตกและบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหยือของทวีปอเมริกาใต้
    เอลนินโญ่เกิดขึ้นเนื่องจากพื้นผิวโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน โดยบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง เกิดเป็นวงจรถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้น น้ำทะเลระดับพื้นผิวจะร้อนจนระเหยกลายเป็นไอ เปิดให้น้ำทะเลที่อยู่ข้างใต้ขึ้นมาอยู่ในระดับพื้นผิว และระเหยกลายเป็นไอ เกิดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
    ส่วน ลานินญ่า เป็นปรากฏการณ์ในบริเวณเดียวกับที่เกิดเอลนินโญ่ แต่เกิดขึ้นในทิศทางตรงข้าม เพราะอุณหภูมิของน้ำทะเลแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ นำสู่การเกิดพายุกระหน่ำผิดปกติ 



2.สาเหตุของการเกิดเอลนิลโญ่ลานิลญ่า
    สาเหตุของปรากฏการณ์เอลนิโนและลานินา
    เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรจะกระทบต่อบรรยากาศและรูปแบบของภูมิอากาศรอบโลก ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศก็จะกระทบต่ออุณหภูมิของมหาสมุทรและกระแสน้ำเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่อุณหภูมิ ที่ผิวหน้าน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน (Tropical Pacific) แถบเส้นศูนย์สูตรนี้ (ภาพที่ 5- 9)  มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวของมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดปรากฏการณ์เอลนิโนและปรากฏการณ์ลานินา ดังนี้
    1.ปรากฏการณ์เอลนิโนเกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโนทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ 2?C – 3.5?C จึงเรียกว่า “the El Nino warming” และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น ในขณะเดียวกันชั้นน้ำอุ่นนี้จะทำการปิดกั้นการไหลขึ้นสู่เบื้องบนของกระแสน้ำเย็นจากท้องมหาสมุทร ทำให้ เทอร์โมฮาไลน์ มีการเปลี่ยนทิศทาง
สภาวะเอลนิโนจะกินเวลาประมาณ 9-12 เดือน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนจะเกิดพร้อมกับความผันผวนของภูมิอากาศในซีกโลกภาคใต้ มันจึงมักถูกเรียกรวมกันไปว่า ปรากฏการณ์เอนโซ” (ENSO, El Ni?o and Southern Oscillation)
    2.ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ลานินาเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างผิดปกติของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก  ทำให้ความดันบริเวณตะวันตกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันออกจึงเกิดเป็นลมที่พัดเสริมลมสินค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก   ปรากฏการณ์ลานินา



3.ปรากฏการณ์เอลนิลโญ่
    การที่ตำแหน่งของแอ่งน้ำอุ่นขยับที่ไปอยู่กลางมหาสมุทรเช่นนี้ ทำให้เกิิดวงจรถ่ายเทความร้อนข้ึนสองวงจร จึงเป็นผลให้รูปแบบการรวมตัวของเมฆไม่เหมือนเดิม ทิศทางลมและไหลของกระแสน้ำแตกต่างกันไปจากเดิม มีผลทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงผิดปกติตอบไปจากปกติอย่างมาก และเนื่องจากการหมุนเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป เอลนินโญจึงมีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทั้งหมด ไม่แต่เฉพาะบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น




4.ปรากฏการณ์เอลนิลโญ่ มีความต่างจากสภาวะปกติอย่างไร


    จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีเอลนีโญ  โดยใช้วิธีวิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite standardized ของอุณหภูมิในปีเอลนีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50  ปี ตั งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543  พบว่า ในปีลานีญาปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของ ประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ ชัดเจน ส้าหรับอุณหภูมิปรากฏว่าลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่้ากว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ น  ขณะที่อุณหภูมิต่้ากว่าปกติมากขึ 



5.ผลกระทบที่เกิดจากเอลนิลโญ่



ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์
     การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกและการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร  (Lim, 1984; Berlage, 1966; และ Bjerkness, 1966, 1969, 1972) ดังนั้นปรากฏการณ์ทั้งสองจึงส่งผลกระทบต่อทิศทางการไหลหมุนเวียนของเทอร์โมฮาไลน์ และส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก  จนเกิดเป็นภัยพิบัติต่างๆ เช่น ความแห้งแล้ง อดหยาก และอุทกภัย (ภาพที่ 5- 11)  ดังนี้
     1.ปรากฏการณ์เอลนิโน ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก มีความชุ่มชื้นกว่าปกติจนเกิดเป็นอุทกภัย ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เกิดความแห้งแล้ง (ภาพที่ 5- 11-a) โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1OC บนมหาสมุทรจะเพิ่มความรุนแรงให้แก่เฮอริเคนที่เกิดขึ้นในแถบอิเควเตอร์แต่มันก็มีข้อดีบางประการเช่นช่วยลดความรุนแรงและจำนวนครั้งของการเกิดเฮอริเคนแห่งแอตแลนติกในแอตแลนติกเหนือ และทอร์นาโด ในตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา
     2.ปรากฏการณ์ลานินาทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีความชุ่มชื้นกว่าปกติจนเกิดเป็นอุทกภัย ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกเกิดความแห้งแล้ง (ภาพที่ 5- 11 -b)
    ปรากฏการณ์ลานินาและเอลนิโน จะส่งอิทธิพลไปทั่วโลก โดยผลกระทบที่มีต่อภูมิอากาศโลก จะมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางที่ตรงข้ามกัน  ทำให้ความแปรปรวนของอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนเกิดในทิศทางที่ตรงข้ามกันด้วย ระบบภูมิอากาศโลกจึงมีการสลับไปมาทุกๆ 3-5 ปีโดยเฉลี่ย การสลับระหว่างช่วงแห่งความอบอุ่นของสภาวะเอลนิโน และสภาวะปกติ (หรือช่วงแห่งความหนาวเย็น ของสภาวะลานินา) นี้สามารถบ่งชี้ ได้ด้วยดัชนีของคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ (Southern Oscillation Index, S.O.I) ในภาพที่ 5- 12
     S.O.I เป็นการวัดความดันที่แตกต่างกันระหว่างเมืองดาร์วินในออสเตรเลียและเมืองตาฮิติในแปซิฟิกกลาง ค่าลบของ S.O.I หมายถึงโอกาสในการเกิดสภาวะเอลนิโน และค่าบวกหมายถึงโอกาสในการเกิดสภาวะลานินา โดยค่าดัชนีจะชี้ให้เห็นถึง ความรุนแรงและระยะเวลาของสถานการณ์ ด้วย
     ค่า S.O.I ได้ถูกบันทึกมานานกว่า 100 ปีแล้ว ทำให้ได้ค้นพบว่า ปรากฏการณ์เอนโซ ได้ เกิดอยู่ในแปซิฟิก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยคลื่นแห่งความผันผวนนี้ มีแอมพลิจูดที่แตกต่างกันมาก ในขณะที่ มีความถี่ค่อนข้างจะคงที่
     จากปี 1950 ถึง 1977 มีสภาวะเอลนิโนเกิดขึ้นร้อยละ31มีสภาวะลานินาเกิดขึ้นร้อยละ 23 และมีสภาวะปกติเกิดขึ้นร้อยละ 46  ในช่วงนี้ การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโนและลานินา จะมีจำนวนครั้งที่ใกล้เคียงกัน จนเกิดเป็นคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศ แต่สิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับนักวิทยาศาสตร์คือ ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา พฤติกรรมของคลื่นแห่งความผันผวนนี้ได้เบี่ยงเบนไป โดยปรากฏการณ์เอลนิโน เกิดบ่อยครั้งมากขึ้นจนผิดปกติและมีแอมพลิจูดที่สูงขึ้น (ภาพที่ 5- 12) ตัวอย่างเช่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีเอลนิโนเกิดขึ้นถึง 9 ครั้งทุก ๆ 2.2 ปี (ในอดีตเคยเกิดทุก 7 ปี)ในขณะที่มีปรากฏการณ์ลานินา เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว  นั่นหมายความว่าคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ กำลังหมดสิ้นลงแล้วจากการค่อยๆหายตัวไปของปรากฏการณ์ลานินา  โลกจึงมีแต่ความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ  ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์ลานินาจะช่วยยื้อให้ภูมิอากาศโลกกลับสู่สภาพปกติได้  พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้มีความรุนแรงมาก ในปี 1998 มี ซึ่งอาจเป็นเพราะ มีสภาวะโลกร้อนเป็นตัวเร่งด้วยก็ได้
     เนื่องจากในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นครึ่งองศาเซลเซียส เป็นสิ่งที่นอกจากจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (ภาพที่ 5- 3) แล้วยังสอดคล้องกับช่วงระยะเวลาในการเกิดเอลนิโนด้วย(ภาพที่ 5- 13)   นั่นแสดงให้เห็นว่าภูมิอากาศของโลกนั้นมีความหวั่นไหวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆแม้แต่เพียงเล็กน้อย เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เปลี่ยนเพียงเล็กน้อยบนพื้นที่เล็กๆในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ก็สามารถทำให้เกิดรูปแบบของความแห้งแล้งและอุทกภัยบนพื้นที่ต่างๆทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำอีก  โดยความแห้งแล้งที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นนี้มีศักยภาพสูงในการทำลายป่าฝนในทุกๆ 2-3 ปี  จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อป่าไม้ในเขตอเมซอน รวมทั้งทำลายป่าไม้ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยัง กระทบต่อระบบนิเวศน์ของสรรพชีวิตโดยเฉพาะสัตว์น้ำและกระตุ้นการระบาดของแมลงและโรคบางชนิด
     ในปัจจุบัน ยังมีปัญหาอีกมากมายให้นักวิทยาศาสตร์ต้องขบคิด เกี่ยวกับแนวโน้มของการเกิดที่บ่อยครั้งขึ้นของปรากกฎการณ์เอลนิโนและความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นของมัน เนื่องจากสภาวะโลกร้อน งานวิจัยจะช่วยแยกแยะความแปรปรวนตามธรรมชาติออกจากความแปรปรวนเนื่องจากฝีมือมนุษย์ หรือหาความเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีกทศวรรษหน้า และผลกระทบต่างๆที่จะตามม

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอแผ่นชาร์ทที่นำไปแก้ไขเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่1 หน่วยส้ม
กลุ่มที่2 หน่วยไก่
กลุ่มที่3 หน่วยข้าว
กลุ่มที่4 หน่วยกล้วย
กลุ่มที่5 หน่วยน้ำ
กลุ่มที่6 หน่วยนม

คำศัพท์ - เอลนีโญ ลานีญา

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ไปใช้ในอนาคตได้และสามารถเข้าใจการเขียนแผ่นชาร์ทที่ถูกวิธี


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที
อาจารย์/มอบหมายงานและกิจกรรมให้ทำและมอบความรู้เพิ่มเติมให้แก่นักศึกษา
บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอของเล่นของกลุ่มตนเอง


กลุ่มที่1 นาฬิกาธรรมชาติ (กลุ่มของผม)


กลุ่มที่2 ตุ๊กตาเริงระบำ


กลุ่มที่3 วงโคจรรอบโลก


กลุ่มที่4 ทวินเพลส


กลุ่มที่5 สุริยะจักรวาล


กลุ่มที่6 ผีเสื้อเริงระบำ


กลุ่มที่7 ลานหรรษา


กลุ่มที่8 ไข่มหัศจรรย์


กลุ่มที่9 ภาพใต้น้ำ


จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน หลังจากได้กลุ่มอาจารย์ก็แจกกระดาษแผ่นใหญ่กลุ่มละแผ่นจากนั้นภายในกลุ่มช่วยคิดหน่วยที่จะทำโดยห้ามซ้ำกับกลุ่มอื่น (กลุ่มของผมทำเรื่องน้ำ)

หัวข้อน้ำแบ่งออกเป็นดังนี้
1.ประเภทของน้ำ
2.สถานะ/คุณสมบัติ
3.การดูแลรักษาแหล่งน้ำ
4.ประโยชน์
5.โทษ

คำศัพท์  -


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและมีการพูดคุยกันปรึกษากันภายในกลุ่ม
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที
อาจารย์/มอบหมายงานและกิจกรรมให้ทำ และยังเสริมสร้างความรู้ให้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละหนึ่งใบแล้วให้เขียนขั้นตอนการทำของเล่นของตัวเองที่เคยทำมา เป็นผังกราฟฟิค โดนให้เด็กเข้าใจง่าย จากนั้นเอาไปติดบนกระดานหน้าห้อง


จากนั้นอาจารย์ก็สรุปของนักศึกาาแต่ละคน จากนั้นแบ่งกลุ่มๆละ 8 คนแล้วตั้งชื่อกลุ่ม แล้วให้นักศึกษาในกลุ่มคุยกันว่าจะเอาของเล่นของใครมาทำเป็นวีดีโอ เมื่อตกลงกันเสร็จแล้วก็ออกไปนำเสนอหน้าห้องเพื่อพูดคุยกับอาจารย์

คำศัพท์  - 

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำข้อมูลมาเขียนเป็นผังเพื่อให้ดูเข้าใจง่ายและนำไปสอนได้จริง


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและแสวงหาความรู้อย่างเต็มที่
เพื่อน/พูดคุยกันในกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จ
อาจารย์/ส่งเสริมทักษะทางความรู้ของนักศึกษาและมอบหมายงานให้ทำ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้รุ่นพี่ปี5เข้ามาสอนแทน โดยรุ่นพี่สอนทำทาโกะยากิ โดยแบ่งออกเป็น 4 ฐานคือ

ฐานที่ 1 วาดรูปส่วนผสมของทาโกะยากิ
ฐานที่ 2 หั่นส่วนผสม
ฐานที่ 3 ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกัน
ฐานที่ 4 นำทาโกะยากิที่ผสมแล้วใส่ในกระทะ

วัตถุดิบ
1. ไข่ไก้
2. ปูอัด
3. ฮอทดอก
4. สาหร่าย
5. แครอท
6. ต้นหอม
7. หอมหัวใหญ๋
8. กระหล่ำปลีม่วง
9. ข้าวโพด
10. ซอสราดทาโกะยากิ
11. ข้าว
12. มายองเนส
13. มาการีน

อุปกรณ์
1. มีด
2. เขียง
3. จาน
4. กระทะทาโกะยากิ
5. ช้อน

ส่วนผสมที่ใช้ทำในวันนี้
1. ปูอัด
2. ไข่
3. ข้าว
4. แครอท
5.หอมหัวใหญ่
6. มะเขือเทศ
7. มาการีน

หลังจากเก็บเด็กและอธิบายขั้นตอนก็ให้เข้าตามฐานเพื่อทำกิจกรรม

คำศัพท์  -

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถใช้ทักษะต่างๆเก็บเด็กและทำทาโกะยากิได้เอง


การประเมิน
ตนเอง/ต่างใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที
อาจารย์/มอบหมายงานและกิจกรรมให้ทำ