วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้หน่วยต่างๆที่จับฉลากออกมาสอนตามวันที่ได้

วันจันทร์ หน่วยไก่


วันอังคาร หน่วยนม




วันพุธ หน่วยข้าว,หน่วยส้ม
หน่วยข้าว




หน่วยส้ม



วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย


วันศุกร์ หน่วยน้ำ


คำศัพท์  -

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำการสอนของกลุ่มตนเองและกลุ่มของเพื่อนๆไปปรับใช้ในอนาคต

การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังอาจารย์และทำกิจกรรมที่เพื่อนนำมาอย่างตั้งใจ
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมที่เพื่อนนำมา
อาจารย์/สอดแทรกความรูู้ให้กับนักศึกษาและมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนการสอนตามวัน







หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มมาจับฉลากว่ากลุ่มไหนจะได้สอนวันอะไร

วันจันทร์  กลุ่มไก่
วันอังคาร กลุ่มนม
วันพุธ กลุ่มข้าวกับกลุ่มส้ม
วันพฤหัสบดี กลุ่มกล้วย
วันศุกร์ กลุ่มน้ำ

คำศัพท์  - 

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถสร้างกิจกรรมที่สอดคล้องกับหน่วยได้อย่างถูกต้อง

การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังอาจารย์และทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำงานอย่างเต็มที่
อาจารย์/ให้ความรู้แก่นักศึกษาและวิธีการเขียนแผนอย่างถูกวิธี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเซคผมต้องต้องทำกิจกรรมต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมชมงานคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 1 พฤษจิกายน

อาจารย์ให้เปิดวีดีโอการสอนทำของเล่นที่บูรณาการทางวิทยาศาสตร์


กลุ่มที่ 1 พลังปริศนา



กลุ่มที่ 2 ขวดบ้าพลัง




กลุ่มที่ 3 รถแกนหลอดด้าย




กลุ่มที่ 4 ลูกข่างนักสืบ



หลังจากดูวีดีโอเสร็จ อาจารย์ก็ให้แยกกลุ่มตามหน่วยการเรียนรู้ที่เลือกไว้ ให้แต่ละกลุ่มเขียนมายแมปว่าจพทำอะไรในแต่ละวันในเรื่องของหน่วยตัวเอง

คำศัพท์  -

การนำมาประยุกต์ใช้
นำหน่วยของตัวเองและของกลุ่มเพื่อน ๆ มาประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต

การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังอาจารย์และดูวีดีโอนำเสนอของเพื่อนเพื่อนำมาปรับใช้
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์/สอดแทรกความรูู้ให้กับนักศึกษาและมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ

1.เอลนิลโญ่ลานิญญ่าคืออะไร

    "เอลนินโญ่" และ "ลานินญ่า" มาจากภาษาสเปน เอลนินโญ่ แปลว่า เด็กผู้ชาย มีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า บุตรของพระคริสต์ และ   ลานินญ่า แปลว่า เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "El Nino" และ "La Nina"
    เอลนิลโญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำทะเลที่อุ่นบริเวณเส้นศูนย์สูตรททงมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ไหลเไปแทนกระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมบริเวณเส้นศูนย์สูตรมางมหาสมุมรแปซฟิกตะวันตกและบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหยือของทวีปอเมริกาใต้
    เอลนินโญ่เกิดขึ้นเนื่องจากพื้นผิวโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน โดยบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง เกิดเป็นวงจรถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้น น้ำทะเลระดับพื้นผิวจะร้อนจนระเหยกลายเป็นไอ เปิดให้น้ำทะเลที่อยู่ข้างใต้ขึ้นมาอยู่ในระดับพื้นผิว และระเหยกลายเป็นไอ เกิดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
    ส่วน ลานินญ่า เป็นปรากฏการณ์ในบริเวณเดียวกับที่เกิดเอลนินโญ่ แต่เกิดขึ้นในทิศทางตรงข้าม เพราะอุณหภูมิของน้ำทะเลแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ นำสู่การเกิดพายุกระหน่ำผิดปกติ 



2.สาเหตุของการเกิดเอลนิลโญ่ลานิลญ่า
    สาเหตุของปรากฏการณ์เอลนิโนและลานินา
    เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรจะกระทบต่อบรรยากาศและรูปแบบของภูมิอากาศรอบโลก ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศก็จะกระทบต่ออุณหภูมิของมหาสมุทรและกระแสน้ำเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่อุณหภูมิ ที่ผิวหน้าน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน (Tropical Pacific) แถบเส้นศูนย์สูตรนี้ (ภาพที่ 5- 9)  มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวของมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดปรากฏการณ์เอลนิโนและปรากฏการณ์ลานินา ดังนี้
    1.ปรากฏการณ์เอลนิโนเกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโนทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ 2?C – 3.5?C จึงเรียกว่า “the El Nino warming” และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น ในขณะเดียวกันชั้นน้ำอุ่นนี้จะทำการปิดกั้นการไหลขึ้นสู่เบื้องบนของกระแสน้ำเย็นจากท้องมหาสมุทร ทำให้ เทอร์โมฮาไลน์ มีการเปลี่ยนทิศทาง
สภาวะเอลนิโนจะกินเวลาประมาณ 9-12 เดือน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนจะเกิดพร้อมกับความผันผวนของภูมิอากาศในซีกโลกภาคใต้ มันจึงมักถูกเรียกรวมกันไปว่า ปรากฏการณ์เอนโซ” (ENSO, El Ni?o and Southern Oscillation)
    2.ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ลานินาเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างผิดปกติของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก  ทำให้ความดันบริเวณตะวันตกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันออกจึงเกิดเป็นลมที่พัดเสริมลมสินค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก   ปรากฏการณ์ลานินา



3.ปรากฏการณ์เอลนิลโญ่
    การที่ตำแหน่งของแอ่งน้ำอุ่นขยับที่ไปอยู่กลางมหาสมุทรเช่นนี้ ทำให้เกิิดวงจรถ่ายเทความร้อนข้ึนสองวงจร จึงเป็นผลให้รูปแบบการรวมตัวของเมฆไม่เหมือนเดิม ทิศทางลมและไหลของกระแสน้ำแตกต่างกันไปจากเดิม มีผลทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงผิดปกติตอบไปจากปกติอย่างมาก และเนื่องจากการหมุนเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป เอลนินโญจึงมีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทั้งหมด ไม่แต่เฉพาะบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น




4.ปรากฏการณ์เอลนิลโญ่ มีความต่างจากสภาวะปกติอย่างไร


    จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีเอลนีโญ  โดยใช้วิธีวิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite standardized ของอุณหภูมิในปีเอลนีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50  ปี ตั งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543  พบว่า ในปีลานีญาปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของ ประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ ชัดเจน ส้าหรับอุณหภูมิปรากฏว่าลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่้ากว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ น  ขณะที่อุณหภูมิต่้ากว่าปกติมากขึ 



5.ผลกระทบที่เกิดจากเอลนิลโญ่



ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์
     การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกและการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร  (Lim, 1984; Berlage, 1966; และ Bjerkness, 1966, 1969, 1972) ดังนั้นปรากฏการณ์ทั้งสองจึงส่งผลกระทบต่อทิศทางการไหลหมุนเวียนของเทอร์โมฮาไลน์ และส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก  จนเกิดเป็นภัยพิบัติต่างๆ เช่น ความแห้งแล้ง อดหยาก และอุทกภัย (ภาพที่ 5- 11)  ดังนี้
     1.ปรากฏการณ์เอลนิโน ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก มีความชุ่มชื้นกว่าปกติจนเกิดเป็นอุทกภัย ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เกิดความแห้งแล้ง (ภาพที่ 5- 11-a) โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1OC บนมหาสมุทรจะเพิ่มความรุนแรงให้แก่เฮอริเคนที่เกิดขึ้นในแถบอิเควเตอร์แต่มันก็มีข้อดีบางประการเช่นช่วยลดความรุนแรงและจำนวนครั้งของการเกิดเฮอริเคนแห่งแอตแลนติกในแอตแลนติกเหนือ และทอร์นาโด ในตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา
     2.ปรากฏการณ์ลานินาทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีความชุ่มชื้นกว่าปกติจนเกิดเป็นอุทกภัย ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกเกิดความแห้งแล้ง (ภาพที่ 5- 11 -b)
    ปรากฏการณ์ลานินาและเอลนิโน จะส่งอิทธิพลไปทั่วโลก โดยผลกระทบที่มีต่อภูมิอากาศโลก จะมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางที่ตรงข้ามกัน  ทำให้ความแปรปรวนของอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนเกิดในทิศทางที่ตรงข้ามกันด้วย ระบบภูมิอากาศโลกจึงมีการสลับไปมาทุกๆ 3-5 ปีโดยเฉลี่ย การสลับระหว่างช่วงแห่งความอบอุ่นของสภาวะเอลนิโน และสภาวะปกติ (หรือช่วงแห่งความหนาวเย็น ของสภาวะลานินา) นี้สามารถบ่งชี้ ได้ด้วยดัชนีของคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ (Southern Oscillation Index, S.O.I) ในภาพที่ 5- 12
     S.O.I เป็นการวัดความดันที่แตกต่างกันระหว่างเมืองดาร์วินในออสเตรเลียและเมืองตาฮิติในแปซิฟิกกลาง ค่าลบของ S.O.I หมายถึงโอกาสในการเกิดสภาวะเอลนิโน และค่าบวกหมายถึงโอกาสในการเกิดสภาวะลานินา โดยค่าดัชนีจะชี้ให้เห็นถึง ความรุนแรงและระยะเวลาของสถานการณ์ ด้วย
     ค่า S.O.I ได้ถูกบันทึกมานานกว่า 100 ปีแล้ว ทำให้ได้ค้นพบว่า ปรากฏการณ์เอนโซ ได้ เกิดอยู่ในแปซิฟิก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยคลื่นแห่งความผันผวนนี้ มีแอมพลิจูดที่แตกต่างกันมาก ในขณะที่ มีความถี่ค่อนข้างจะคงที่
     จากปี 1950 ถึง 1977 มีสภาวะเอลนิโนเกิดขึ้นร้อยละ31มีสภาวะลานินาเกิดขึ้นร้อยละ 23 และมีสภาวะปกติเกิดขึ้นร้อยละ 46  ในช่วงนี้ การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโนและลานินา จะมีจำนวนครั้งที่ใกล้เคียงกัน จนเกิดเป็นคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศ แต่สิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับนักวิทยาศาสตร์คือ ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา พฤติกรรมของคลื่นแห่งความผันผวนนี้ได้เบี่ยงเบนไป โดยปรากฏการณ์เอลนิโน เกิดบ่อยครั้งมากขึ้นจนผิดปกติและมีแอมพลิจูดที่สูงขึ้น (ภาพที่ 5- 12) ตัวอย่างเช่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีเอลนิโนเกิดขึ้นถึง 9 ครั้งทุก ๆ 2.2 ปี (ในอดีตเคยเกิดทุก 7 ปี)ในขณะที่มีปรากฏการณ์ลานินา เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว  นั่นหมายความว่าคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ กำลังหมดสิ้นลงแล้วจากการค่อยๆหายตัวไปของปรากฏการณ์ลานินา  โลกจึงมีแต่ความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ  ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์ลานินาจะช่วยยื้อให้ภูมิอากาศโลกกลับสู่สภาพปกติได้  พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้มีความรุนแรงมาก ในปี 1998 มี ซึ่งอาจเป็นเพราะ มีสภาวะโลกร้อนเป็นตัวเร่งด้วยก็ได้
     เนื่องจากในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นครึ่งองศาเซลเซียส เป็นสิ่งที่นอกจากจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (ภาพที่ 5- 3) แล้วยังสอดคล้องกับช่วงระยะเวลาในการเกิดเอลนิโนด้วย(ภาพที่ 5- 13)   นั่นแสดงให้เห็นว่าภูมิอากาศของโลกนั้นมีความหวั่นไหวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆแม้แต่เพียงเล็กน้อย เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เปลี่ยนเพียงเล็กน้อยบนพื้นที่เล็กๆในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ก็สามารถทำให้เกิดรูปแบบของความแห้งแล้งและอุทกภัยบนพื้นที่ต่างๆทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำอีก  โดยความแห้งแล้งที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นนี้มีศักยภาพสูงในการทำลายป่าฝนในทุกๆ 2-3 ปี  จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อป่าไม้ในเขตอเมซอน รวมทั้งทำลายป่าไม้ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยัง กระทบต่อระบบนิเวศน์ของสรรพชีวิตโดยเฉพาะสัตว์น้ำและกระตุ้นการระบาดของแมลงและโรคบางชนิด
     ในปัจจุบัน ยังมีปัญหาอีกมากมายให้นักวิทยาศาสตร์ต้องขบคิด เกี่ยวกับแนวโน้มของการเกิดที่บ่อยครั้งขึ้นของปรากกฎการณ์เอลนิโนและความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นของมัน เนื่องจากสภาวะโลกร้อน งานวิจัยจะช่วยแยกแยะความแปรปรวนตามธรรมชาติออกจากความแปรปรวนเนื่องจากฝีมือมนุษย์ หรือหาความเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีกทศวรรษหน้า และผลกระทบต่างๆที่จะตามม

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอแผ่นชาร์ทที่นำไปแก้ไขเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่1 หน่วยส้ม
กลุ่มที่2 หน่วยไก่
กลุ่มที่3 หน่วยข้าว
กลุ่มที่4 หน่วยกล้วย
กลุ่มที่5 หน่วยน้ำ
กลุ่มที่6 หน่วยนม

คำศัพท์ - เอลนีโญ ลานีญา

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ไปใช้ในอนาคตได้และสามารถเข้าใจการเขียนแผ่นชาร์ทที่ถูกวิธี


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที
อาจารย์/มอบหมายงานและกิจกรรมให้ทำและมอบความรู้เพิ่มเติมให้แก่นักศึกษา
บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอของเล่นของกลุ่มตนเอง


กลุ่มที่1 นาฬิกาธรรมชาติ (กลุ่มของผม)


กลุ่มที่2 ตุ๊กตาเริงระบำ


กลุ่มที่3 วงโคจรรอบโลก


กลุ่มที่4 ทวินเพลส


กลุ่มที่5 สุริยะจักรวาล


กลุ่มที่6 ผีเสื้อเริงระบำ


กลุ่มที่7 ลานหรรษา


กลุ่มที่8 ไข่มหัศจรรย์


กลุ่มที่9 ภาพใต้น้ำ


จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน หลังจากได้กลุ่มอาจารย์ก็แจกกระดาษแผ่นใหญ่กลุ่มละแผ่นจากนั้นภายในกลุ่มช่วยคิดหน่วยที่จะทำโดยห้ามซ้ำกับกลุ่มอื่น (กลุ่มของผมทำเรื่องน้ำ)

หัวข้อน้ำแบ่งออกเป็นดังนี้
1.ประเภทของน้ำ
2.สถานะ/คุณสมบัติ
3.การดูแลรักษาแหล่งน้ำ
4.ประโยชน์
5.โทษ

คำศัพท์  -


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและมีการพูดคุยกันปรึกษากันภายในกลุ่ม
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที
อาจารย์/มอบหมายงานและกิจกรรมให้ทำ และยังเสริมสร้างความรู้ให้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละหนึ่งใบแล้วให้เขียนขั้นตอนการทำของเล่นของตัวเองที่เคยทำมา เป็นผังกราฟฟิค โดนให้เด็กเข้าใจง่าย จากนั้นเอาไปติดบนกระดานหน้าห้อง


จากนั้นอาจารย์ก็สรุปของนักศึกาาแต่ละคน จากนั้นแบ่งกลุ่มๆละ 8 คนแล้วตั้งชื่อกลุ่ม แล้วให้นักศึกษาในกลุ่มคุยกันว่าจะเอาของเล่นของใครมาทำเป็นวีดีโอ เมื่อตกลงกันเสร็จแล้วก็ออกไปนำเสนอหน้าห้องเพื่อพูดคุยกับอาจารย์

คำศัพท์  - 

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำข้อมูลมาเขียนเป็นผังเพื่อให้ดูเข้าใจง่ายและนำไปสอนได้จริง


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและแสวงหาความรู้อย่างเต็มที่
เพื่อน/พูดคุยกันในกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จ
อาจารย์/ส่งเสริมทักษะทางความรู้ของนักศึกษาและมอบหมายงานให้ทำ