วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 20 ก.ย


ความรู้ที่ได้รับ
เริ่มการเรียนด้วยการคัดพยัญชนะ ก - ฮ


    หลังจากคัดพยัญชนะเสร็จอาจารย์ก็แจกกระดาษ A4 คนละนึงแผ่น
จากนั้นเอามือทาบลงไปที่กระดาาแล้วใช้สีเมจิกวาดเส้นตามมือของเรา จากนั้นใช้สีเมจิกคนละสีขีดเส้นผ่านรูปฝ่ามือของเรา จะทำให้ภาพดูเหมือนกลายเป็นภาพ3มิติ


    จากนั้นให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นออกไปนำเสนอ โดยอาจารย์จะให้ออกไปนำเสนอเรื่องที่ใกล้เคียงกับเรื่องที่ผ่านมา เช่น จุดศูนย์ถ่วง อาจารย์ก็จะให้เพื่อนๆที่ทำของเล่นเกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงออกไปนำเสนอพร้อมกัน


    เสร็จแล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษ A4 โดยให้แบ่งเป็นสี่เหลี่ยม 4 แผ่น จากนั้นพับตามที่อาจารย์บอกแล้วก็ตัด ให้กลายเป็นดอกไม้ แล้วก็ระบายสีตรงกลาง เสร็จแล้วก็พับกรีบดอกเข้าหาตรงกลาง
แล้วนำไปใส่ในกะละมังที่ใส่น้ำไว้แล้วสังเกต จะเห็นว่ากรีบดอกที่เราพับค่อยๆคลายตัวออก เพราะว่ากระดาษจะดูดซึมน้ำเข้าไปทำให้เกิดการอิ่มตัว

    สุดท้ายอาจารย์ให้คิดของเล่นเป็นกลุ่มเพื่อทำมาส่งในอีก2สัปดาห์
กลุ่มของผมทำเกี่ยวกับนาฬิกาทราย

คำศัพท์

การนำมาประยุกต์ใช้
- ช่วยเสริมสร้างความคิดและจินตนาการในการสร้างกิจกรรมสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความรู้และวิธีคิด จินตนาการของเด็กๆ และทำให้เด็กๆสนุกกับการเรียนของเรา


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและแสวงหาความรู้อย่างเต็มที่
เพื่อน/ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มที
อาจารย์/มอบหมายงานและกิจกรรมให้ทำ และยังเสริมสร้างความรู้ให้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 13 ก.ย

ความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์แจกกระดาาให้นักศึกษาคัด ก - ฮ แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม

หลักจากนั้นอาจารย์ก็สั่งงานชิ้นใหม่ให้มาส่งอาทิตย์หน้า เป็น ข้อมูลของของเล่นที่เราทำมาสัปดาห์ที่แล้วเช่น ชื่อของเล่น อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ วิธีเล่น สรุปทางวิทยาศาสตร์ การบูรณาการในวิชาใด พิมพ์ใส่ Word แล้วรวบรวมไลค์ลงแผ่น

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่

สาระที่ 5 พลังงาน

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ

สาระที่ 8 ธรรมชาตืของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จากนั้นอาจารย์ก็ให้หดูวีดีโอเรื่อง ความลับของแสง

ความรู้ที่ได้จากการดูคลิปวีดีโอ

- แสงช่วยให้เรามองเห็น
- แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เคลื่อนที่ได้เร็ว 300000 กิโลเมตร/วินาที
- วัตถุที่แสงผ่านได้คือ โปร่งแสง และโปร่งใส
- วัตถุที่แสงผ่านไม่ได้คือ ทึบแสง
- การสะท้อนแสงจะสะท้อนกลับไปทิศทางตรงกันข้ามกับทิษทางที่ฉายแสงลงมาเสมอ

คำศัพท์


การนำมาประยุกต์ใช้
วิธีการนำเสนอที่ดีช่วยให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถ้าเราวางแผนการสอนให้ดี จะช่วยเสริมสร้างความรู้ให้กับเด็กได้อย่างเต็มที่

การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจดูคลิปและศึกษาเพื่อนำข้อมูลมาใช้งาน
เพื่อน/ตั้งใจฟังและดูคลิปวีดีโอที่อาจารย์เปิดให้
อาจารย์/ปูพื้นก่อนการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 6 ก.ย (ห้องสมุด)


ความรู้ที่ได้รับ

  อาจารย์ให้พวกเราทุกคนดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับเรื่อง อากาศมหัศจรรย์


ลมคืออากาศที่เคลื่อนไหวได้ อากาศจะแทรกตัวอยู่ในทุกๆที่ มนุษย์ สัตว์และพืช ต่างต้องการใช้อากาศในการดำรงชีวิต อากาศที่ร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาสที่เย็น 


การทดลองที่ใช้ในการรู้ตัวตนของอากาศ ทำได้โดยนำกระดาษติดตรงก้นแก้ว แล้วนำแก้วจุ่มลงไปในน้ำ จากนั้นนำขึ้นมา จะเห็นได้ว่ากระดาษที่อยู่ก้นแก้วไม่เปียกน้ำ เพราะว่าอากาศจะแทรกตัวอยู่ในแก้วทำให้ระหว่างกระดาษและน้ำมีอากาศกั้นไว้อยู่


เมื่อดูเสร็จอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นของแต่ละคน


แต่เนื่องจากของเล่นผมไม่ได้นำไปจึงยังไม่ได้นำเสนอวันนี้


คำศัพท์ 



การนำมาประยุกต์ใช้

นำวิธีการและรูปแบบในการนำเสนอสิ่งที่จะสอนที่ช่วยส่งเสริมและปูทางก่อนที่จะเริ่มเรียนไปใช้ได้


การประเมิน
ตนเอง/ตั้งใจดูคลิปและศึกษาเพื่อนำข้อมูลมาใช้งาน
เพื่อน/ตั้งใจฟังและดูคลิปวีดีโอที่อาจารย์เปิดให้
อาจารย์/ปูพื้นก่อนการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี


วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 30

ความรู้ที่ได้รับ
แนวทางการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 มีเป้าหมาย6ประการ

- ความรู้
- การจัดการเรียนรู้
- ทักษะทางปัญญา
- ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- คุณธรรมจริยธรรม

แล้วอาจารย์ก็ให้คัดพยัญชนะ 44ตัว

หลักจากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม5คนแล้วอาจารย์ก็แจกอุปกรณ์
- กระดาษสีฟ้า  1 แผ่น
- กระดาษสีขาว 1 แผ่น
- คลิปหนีบกระดาษ 1 ตัว

กลุ่มที่ 1 เรื่องฝน

กลุ่มที่ 1 เรื่องลม

กลุ่มที่ 3 เรื่องกังหันลม

กลุ่มที่ 4 เรื่องแรงต้านอากาศ

กลุ่มที่ 5 เรื่องฤดูกาล

กลุ่มที่ 6 เรื่องลมทะเลกับลมบก

ของเล่นวิทยาศาสตร์ (ใบพัดลูกโป่ง)


อุปกรณ์ 

1. ก้านลูกโป่ง
2. ลูกโป่ง
3. หลอด
4. หนังยาง

วิธีทำ

1. นำลูกโป่งมันกับปลายหลอด
2. นำไม้จิ้มฟันติดกับปลายก้านลูกโป่ง
3. นำไม้จิ้มฟันทิ่มให้ทะลุตรงกลางของหลอด

คำศัพท์เฉพาะ

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำสื่อของวันนี้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนให้กับเด็กๆในอนาคต

การประเมิน
ตนเอง/เข้าใจในการเรียนการสอนและการทำสื่อเป็นอย่างดี
เพื่อน/ช่วยกันทำงานจนสำเร็จ
อาจารย์/มอบหมายงานและให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี